บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้ยเกี่ยวกับเว็บไซต์

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้ยเกี่ยวกับเว็บไซต์

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเว็บไซต์ระบบอินเทอร์เน็ต

   อินเทอร์เน็ต(INTERNET) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า INTERNET หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า INTER และคำว่า NET ซึ่ง INTER หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า NET มาจากคำว่า NETWORK หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
   IP (INTERNET PROTOCAL) ADDRESS คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน INTERNET ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (INTERNET ASSIGNED NUMBER AUTHORITY) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น PUBLIC ADDRESS ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (ASIA PACIFIC NETWORK INFORMATION CENTER) แต่การขอ IP ADDRESS ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย ROUTER ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP ADDRESS จาก ISP (INTERNET SERVICE PROVIDER) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า BANDWIDTH เช่น 2 MBPS แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 KBPS ซึ่งเป็น SPEED ของ MODEM ในปัจจุบัน IP ADDRESS คือเลข 4 ชุด หรือ 4 BYTE เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 CLASS C เพื่อแจกจ่ายให้กับ HOST ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข

    1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254
    1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534
    1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214

ประวัติความเป็นมาประวัติในระดับนานาชาติ

   - อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2503(ค.ศ.1960)
   - พ.ศ.2512(ค.ศ.1969) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีพ.ศ.2512 นี้เองได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลองแอนเจลิส สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีพ.ศ.2518(ค.ศ.1975) จึงเปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ(Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก IAB(Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ใน Internet IETF(Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
   - พ.ศ.2526(ค.ศ.1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform และสื่อสารกันได้ถูกต้อง
   - การกำหนดชื่อโดเมน(Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529(ค.ศ.1986) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
   - DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2533(ค.ศ.1990) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
   - ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ตัดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก






 ประวัติความเป็นมาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

   - อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ.2530(ค.ศ.1987) โดยการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(http://www.psu.ac.th)และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (http://www.ait.ac.th) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย(http://www.unimelb.edu.au) แต่ครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up line) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้า และไม่เสถียร จนกระทั่ง ธันวาคม ปีพ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 6 แห่ง เข้าด้วยกัน (Chula, Thammasat, AIT, Prince of Songkla, Kasetsart and NECTEC) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยสาร(http://www.thaisarn.net.th) และขยายออกไปในวงการศึกษา หรือไม่ก็การวิจัย การขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2537 มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมถึง 27 สถาบัน และความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (http://www.cat.or.th) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน สามารถเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP - Internet Service Provider) และเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สามารถเชื่อมต่อ Internet ผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย

 ความหมายและความสำคัญของเว็บไซต์

      เว็บไซต์  หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์

อินเตอร์เน็ตกับการพัฒนาเว็บไซต์

     ในปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้คนนิยมเข้าถึงข้อมูล และการใช้บริการต่างๆในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น และทำให้เกิดการนำเสนอข้อมูล และบริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
     ดังนั้นในการพัฒนาเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อใช้ในการนำเสนอข้อมูลและบริการ จึงต้องมีมาตรฐานในการพัฒนา เพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นเป็นไปได้โดยง่าย และสามารถเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมาตรฐานในการพัฒนาเว็บไซต์ ควรจะประกอบไปด้วยมาตรฐานที่เป็นพื้นฐานดังต่อไปนี้
1.เป็นเว็บไซต์ที่สามารถแสดงผลได้กับทุก Web Browser ในปัจจุบัน web browser ได้รับการพัฒนาออกมาอย่างหลากหลาย ผู้ใช้งานย่อมีสิทธิในการเลือกใช้งานได้อย่างอิสระ เพราฉะนั้นผู้พัฒนาเว็บไซต์จึงต้องคำนึงถึงเรื่องการแสดงผลในทุก web browser ด้วย เพื่อให้การแสดงผลในแต่ละ web browser นั้นมีการแสดงผลที่เหมือน หรือใกล้เคียงกันมากที่สุด
2. เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility) ซึ่งมีข้อกำหนดของ W3C ที่เรียกว่า WCAG (Web Content Accessibility Guidelines = คำแนะนำในการพัฒนาเว็บไซต์ให้ทุกคนเข้าถึง) เพื่อทำให้การพัฒนาเว็บไซต์สามารถรองรับการใช้งานของทุกกลุ่มคนที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั้งกลุ่มของคนปกติ และกลุ่มคนพิการ ซึ่งยังต้องการหาข้อมูล และความรู้เหมือนคนปกติ
3. เป็นเว็บไซต์ที่มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดของ W3C ในเรื่องของการใช้ XHTML โดยที่ XHTML เป็น ภาษามาร์คอัพ ที่มีความคล้ายคลึงกับภาษา HTML แต่จะมีความเข้มงวดในเรื่องโครงสร้างภาษา (syntax) มากกว่า
การตรวจสอบว่าเว็บไซต์มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดของ W3C ในเรื่องของการใช้ XHTML
4. เป็นเว็บไซต์ที่มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดของ W3C ในเรื่องของการใช้งาน CSS โดยที่ CSS (Cascading Style Sheet) นั้นจะเป็นตัวที่ช่วยให้การควบคุมการแสดงผลของเว็บไซต์นั้นเป็นไปอย่างอิสระ โดยการแยกส่วนของการแสดงผลออกจากส่วนของเนื้อที่ ทำให้การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดงผลนั้นสามารถทำได้ง่ายขึ้น การตรวจสอบว่าเว็บไซต์มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดของ W3C ในเรื่องของการใช้ CSS
5. เป็นเว็บไซต์ที่สามารถดูได้จากอุปกรณ์ที่หลากหลาย ในปัจจุบันอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแต่คอมพิวเตอร์เท่านั้น PDA และโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ ก็จะสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ เพราะฉะนั้นในการสร้างเว็บไซต์เราจึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงการแสดงผลบนอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย

 องค์ประกอบของเว็บไซต์

1. Domain Name : ชื่อและที่อยู่ของเว็บไซต์ในการเรียกข้อมูลเว็บไซต์ของท่านมาแสดงผล เช่น www.yourcompany.com เป็นต้น ปัจจุบันมักจดชื่อ domain name ให้เป็นชื่อที่สื่อถึงสินค้าหรือบริการหรือเป็นชื่อองค์กร และอาศัยการทำประชาสัมพันธ์ผ่าน Search Engine และ Web Directory การเลือกใช้ชื่อเว็บไซต์ที่เหมาะสมก็มีส่วนในการทำให้เว็บไซต์ของคุณประสบความสำเร็จเช่นกัน
2. Design & Development : การออกแบบและจัดทำเว็บไซต์ โดยทั่วไปแล้วสำหรับเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์องค์กร การออกแบบเว็บไซต์ เป็นเพียงส่วนที่ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลขององค์กร หรือบริษัทให้แก่ผู้เยี่ยมชมได้อย่างสะดวก และด้วยการออกแบบที่ดีที่จะสื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ขององค์กร หรือบริษัทจะนำมาซึ่งความน่าเชื่อถือให้เกิดแก่ผู้เข้าเยี่ยมชมได้ หากแต่มักมีคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์ ว่าเว็บไซต์ที่มีการออกแบบดีมีความสวยงาม และมีการนำเสนอที่น่าสนใจจะสามารถดึงดูด และเพิ่มปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมได้ ในความเป็นจริงแล้ว การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มปริมาณของผู้เข้าเยี่ยมชมนั้น เป็นหน้าที่หลักของการทำประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ ไม่ใช่จากการออกแบบและจัดทำเว็บไซต์
3. Content : เนื้อหาของเว็บไซต์ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในองค์ประกอบของเว็บไซต์ เพราะคือสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมค้นหา โดยปกติแล้วเราสามารถใส่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสินค้า หรือบริการขององค์กรของเราได้โดยละเอียด อีกทั้งจำต้องนำเสนออย่างชัดเจนอีกด้วย เช่น รูปภาพของสินค้า หรือสถานที่บริการ เป็นต้น จึงจะทำให้ผู้เข้าเยี่ยมชมได้ประโยชน์จากการเข้าชมเว็บไซต์อย่างแท้จริง อันจำนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจในอนาคตได้
4. Hosting : พื้นที่จัดวางและติดตั้งเว็บไซต์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากไม่น้อยกว่าเนื้อหาของเว็บไซต์ (Content) เพราะการเลือกผู้ให้บริการโฮสติ้งที่ดี มีการซัพพอร์ตลูกค้าที่ดีและรวดเร็ว เซิร์ฟเวอร์มีความเสถียรภาพสูง สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเซิร์ฟเวอร์ได้ตลอดเวลา คือหัวใจสำคัญในการเลือกผู้ให้บริการด้านนี้ นอกจากความพร้อมในการออกแบบและจัดทำเว็บไซต์แล้ว ผู้ให้บริการเว็บไซต์ต้องมีความพร้อมอย่างยิ่งในการให้บริการโฮสติ้งแก่ลูกค้าเป็นอย่างดีอีกด้วย ซึ่งทำให้เว็บไซต์และอีเมล์ของลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา อันส่งผลให้ธุรกิจของลูกค้ามีความต่อเนื่องในการทำงานอยู่เสมอ

5. Promotion : การทำประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่ง เมื่อเราได้จัดทำเว็บไซต์เสร็จแล้ว จะต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด โดยอาศัยวิธีการต่างผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต เช่น Search Engine Submission, Registration Web Directory, Mailing List, Banner Link Exchange เหล่านี้เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ อาจใช้ชื่อ domain name ในการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ผ่านสื่ออื่น ๆ เช่น ในนามบัตร, ใบปลิวหรือ โบรชัวร์ของบริษัท เป็นต้น

โปรแกรมพัฒนาเว็บไซต์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

1.      Coffee Cup Free HTML Editor
2.      Notepad++
3.       PageBreeze
4.       Firebug
5.      Bluefish Editor
6.      Brackets
7.      KompoZer
8.      OpenBEXI
9.      GIMP
10.  BlueGriffon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น