บทที่ 9 การเพิ่มลูกเล่นให้กับเว็ปไซต์

บทที่ 9 การเพิ่มลูกเล่นลงในเว็บเพจ


 ลักษณะของมัลติมีเดีย


          การใส่ลูกเล่นให้กับหน้าเว็บเพจ เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจ เป็นจุดดึงดูดและความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ การใช้มัลติมีเดียต้องใช้เทคโนโลยีสำคัญ ได้แก่ Flash, Java, Java applet, Shockwave, Plug in และ ActiveX Control เป็นต้น
            1. Flash เป็นไฟล์ภาพเคลื่อนไหวที่เกิดจากโปรแกรม Macromedia Flash ขนาดไฟล์ค่อนข้างเล็กเพราะเป็นภาพแบบ Vector-Based ใช้ลายเส้นสร้างภาพ มีนามสกุลไฟล์แบบ .swf โดยผู้ใช้ต้องติดตั้งโปรแกรม Flash Player กับเว็บเบราวเซอร์ก่อนจึงจะใช้งานได้
            2. Shockwave เกิดจากการแปลงไฟล์จากโปรแกรม Macromedia Director และ Authorware เพื่อให้ไฟล์มีขนาดเล็กลงเหมาะกับการแสดงบนเว็บเพจ โดยโปรแกรม Director เหมาะกับการสร้างเกม และงานมัลติมีเดียพรีเซนเตชัน ส่วนโปรแกรม Authorware เหมาะสำหรับสร้างงานมัลติมีเดียช่วยสอน หรือ CAI (Computer Aids Instruction)
            3. Java เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนโปรแกรมขนาดเล็กเพื่อทำงานร่วมกับเว็บเพจ
            4. Java Script เป็นคำสั่งภาษา Java ขนาดสั้นเหมาะสำหรับสร้างลูกเล่นให้เว็บเพจ เช่น สร้างฟอร์มติดต่อกับผู้ใช้งาน นำมาสร้างเว็บเพจได้นอกเหนือจากภาษา HTML Java Applet เป็นโปรแกรมขนาดเล็กสร้างเกมที่สร้างด้วยภาษา Java ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง เช่น เกม ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
            5. ActiveX เป็นโปรแกรมขนาดเล็กซึ่งเรียกว่า "คอนโทรล (Control)" ทำหน้าที่เฉพาะตามที่เขียนในโปรแกรมไว้ ถูกเรียกใช้โดยดาวน์โหลดจากเว็บเซิร์ฟเวอร์มาทำงานบนเครื่องอัตโนมัติ เช่น การแสดงภาพ 3 มิติ การหมุนภาพแบบ 360 องศา
            6. Plugin เป็นโปรแกรมเสริมที่ทำงานร่วมกับเว็บเบราว์เซอร์


 การเล่นไฟล์ .SWF

         








  1. คลิกเมาส์วางเคอร์เซอร์ตรงตำแหน่งที่ต้องการ
  2. คลิกที่เมนู Insert  ให้เลือก Media แล้วเลือก SWF หรือกดปุ่ม Ctrl + Alt + F

  

              3. จะปรากฏหน้าต่าง Select SWF ให้เลือกโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์
              4. เลือกไฟล์ที่ต้องการ
              5. คลิกที่ปุ่ม OK
 

              6. ตั้งชื่อหัวเรื่อง (ไม่ใส่ก็ได้) แล้วกดปุ่ม OK

  
              7. ไฟล์ SWF จะแทรกในหน้าเว็บเพจ สามารถทดลองเล่นไฟล์ SWF โดยกดปุ่ม Play


 การเล่นไฟล์ .FLV


              






1. คลิกเมาส์วางเคอร์เซอร์ตรงตำแหน่งที่ต้องการ
2. คลิกที่เมนู Insert  ให้เลือก Media แล้วเลือก FLV
 

            













3. จะปรากฏหน้าต่าง Insert FLV ให้คลิกที่ปุ่ม Browse เพื่อเลือกไฟล์ FLV (สามารถกำหนดค่าต่าง ๆ ดังนี้) จากนั้นคลิกทีุ่ปุ่ม OK
                - Video type : วิธีการแสดงวิดีโอ
                - Skin : รูปแบบของแผงควบคุมการเล่นวิดีโอ
                - Width : ความกว้างของวิดีโอ
                - Height : ความสูงของวิดีโอ
                - Constrain : คงสัดส่วนของวิดีโอ เมื่อปรับความกว้างหรือความสูง
                - Auto play : กำหนดให้เล่นไฟล์ FLV ทันที
                - Auto rewind : กำหนดให้เล่นไฟล์ FLV ซ้ำ
            4. ไฟล์ FLV จะแทรกในหน้าเว็บเพจ ดังรูป














 การใส่เสียงเพลง

          การแทรกไฟล์เสียงในเว็บเพจ เช่น .midi , .wav , .mp3 เป็นต้น ซึ่งมีวิธีการดังนี้


          






  1. คลิกเลือกตำแหน่งที่จะแทรกไฟล์เสียง
  2. คลิกที่เมนู Insert ให้เลือก Media แล้วเลือก Plugin
 
















              3. จะปรากฏหน้าต่าง Select File ให้เลือกโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์
              4. เลือกไฟล์ที่ต้องการ
              5. คลิกที่ปุ่ม OK











            6. คลิกที่ปุ่ม Yes เพื่อบันทึกไฟล์เพลงในโฟลเดอร์จัดเก็บเว็บไซต์













            7. จะปรากฏหน้าต่าง Copy File As ในช่อง Save in ให้เลือกที่จัดเก็บไฟล์ ส่วนช่อง File name 
ตั้งชื่อไฟล์เสียง แล้วกดปุ่ม Save
 














            8. จะปรากฏไอคอนขึ้นมา
            9. ถ้าต้องการซ่อนแถบควบคุมเสียง ให้คลิกที่ปุ่ม Parameter
            10. ในส่วน Parameter ให้พิมพ์ hidden และส่วน Value ให้พิมพ์ true (ถ้าต้องการยกเลิกแถบควบคุมเสียง 
ให้ลบค่าออก)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น